+ข่าวประชาสัมพันธ์

 

ผ่านแล้ว ‘พ.ร.บ.ไซเบอร์ฯ’ ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ สามารถค้น ติดตาม และยืดคอมฯ ได้แทบทันที

 

ผ่านแล้ว ‘พ.ร.บ.ไซเบอร์ฯ’ ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ สามารถค้น ติดตาม และยืดคอมฯ ได้แทบทันที

เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562 ทางสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้มีมติเห็นชอบร่าง ‘พ.ร.บ.ไซเบอร์ฯ’ หรือ พระราชบัญญัติว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แล้ว เตรียมบังคับใช้เป็นกฎหมายเร็ว ๆ นี้

หลังผลักดันมาตั้งแต่ปี 2558 ล่าสุดเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562 ร่างกฎหมาย พระราชบัญญัติว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ หรือ พ.ร.บ.ไซเบอร์ฯ ได้ผ่านมติจากทางสภานิติบัญญัติแห่งชาติหรือสทช.แล้ว โดยมีผลโหวตเห็นชอบ 133 เสียง ไม่เห็นชอบ 0 และงดออกเสียง 16 เสียง ในเวลาไม่ถึง 3 ชั่วโมง แบบไม่มีการคัดค้านใด ๆ เตรียมบังคับใช้เป็นกฎหมายเร็ว ๆ นี้ !!

สำหรับ พ.ร.บ.ไซเบอร์ฯ ก็เป็นร่างกฎหมายที่ว่าด้วย การสร้างความมั่นคงปลอดภัยในระบบหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ของประเทศ โดยป้องกันไม่ให้เกิดภัยคุกคาม ที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบคอมพิวเตอร์ดังกล่าวนี้เอง

อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ทางด้าน องค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนซึ่งทำงานกับภาคประชาสังคมและคนทั่วไปในสังคม หรือ iLaw เคยออกมาแสดง ความกังวลเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าว โดยจุดที่กังวลหลัก ๆ คือ “ร่างกฎหมายจงใจใช้ถ้อยคำที่ตีความได้กว้างมาก” และสรุปความกังวลเป็น 8 ข้อดังนี้

  1. นิยามภัยคุกคามไซเบอร์ตีความได้กว้าง ครอบคลุม ‘เนื้อหา’ บนโลกออนไลน์
  2. เจ้าหน้าที่รัฐสามารถขอข้อมูลจากใครก็ได้เพื่อประโยชน์ในการทำงาน
  3. กฎหมายให้อำนาจเจ้าหน้าที่ ยึด-ค้น-เจาะ-ทำสำเนา คอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์
  4. เมื่อมีภัยคุกคามไซเบอร์ร้ายแรงขึ้นไป เจ้าหน้าที่รัฐสามารถสอดส่องข้อมูลได้แบบ Real-time
  5. ในกรณีจำเป็นเร่งด่วน เจ้าหน้าที่สามารถใช้อำนาจได้โดยไม่ต้องขอหมายศาล
  6. การใช้อำนาจยึด ค้น เจาะ หรือขอข้อมูลใดๆ ไม่สามารถอุทธรณ์เพื่อยับยั้งได้
  7. เมื่อมีภัยคุกคามไซเบอร์ระดับวิกฤติ ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสภาความมั่นคงแห่งชาติ
  8. ผู้ใดฝ่าฝืนและไม่ปฏิบัติตามคำสั่งมีทั้งโทษปรับและโทษจำคุก

สำหรับใครที่อยากดูร่าง ‘พ.ร.บ.มั่นคงไซเบอร์ฯ’ แบบฉบับเต็ม สามารถดูได้ที่ ictlawcenter.etda.or.th

ที่มา : iLaw

      :https://www.aripfan.com/de-laws-cyber-security-protection-act-in-thailand-now-v3/

 

วันที่ปรับปรุงข่าว : 2562-04-01 13:04:58